ประวัติและกิจกรรมสมาคมนักผังเมืองไทย

ความเป็นมา

สมาคมนักผังเมืองไทย ได้ริเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2535 โดยการยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งสมาคม จาก ดร.อภิชาติ วงศ์แก้ว นายเทอดเกียรติ์ ศักดิ์คำดวง และนายอัจฉริยะ โรจนะภิรมย์ ซึ่งในขณะนั้นต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนใบอนุญาตสมาคมหรือองค์การ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 และได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมหรือองค์การ โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2536 โดยมีสถานที่ตั้งสำนักงานครั้งแรกที่ วิทยาลัยเกษมบัณฑิต เลขที่ 99/701 ซอยอาคเนย์ ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง  เพื่อ

  1. รวมกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีความรู้  ความสามารถ  และผู้สนใจในด้านการพัฒนาชุมชนและเมือง
  2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณ
  3. พัฒนา รักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมนุษย์  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  และสังคมของชุมชนและเมือง
  4. มีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
  5. เผยแพร่ข้อมูล ให้ความรู้แก่ประชาชนต่อการพัฒนาของชุมชนและเมือง
  6. เสริมสร้างและประสานกิจกรรมทางด้านผังเมือง  กับหน่วยงานต่าง ๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชน

ต่อมาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ รวมทั้งส่วนของการจัดตั้งสมาคม พ.ศ.2535  จึงได้มีการแจ้งยื่นขอจดทะเบียนต่อผู้บังคับการกองตำรวจสันติบาล 2  นายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานครรับจดทะเบียนสมาคม  ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2541  และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา  วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2541  โดยมีสถานที่ตั้งอยู่เลขที่  248/1  ซอยศูนย์วิจัย 4  ถนนพระราม 9  แขวงบางกะปิ  เขตห้วยขวาง  กรุงเทพมหานคร  วัตถุประสงค์ของสมาคมยังคงเป็นวัตถุประสงค์เดิมของการยื่นขอจดทะเบียนในปี พ.ศ.2535  และต่อมาการยื่นขอจดทะเบียนเพื่อการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคม  ได้เปลี่ยนแปลงการยื่นจดทะเบียนดังกล่าวไปยังเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของสมาคม

การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ  ได้มีการยกเลิกข้อบังคับฉบับเดิมแล้วใช้ข้อบังคับฉบับใหม่แทน  ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2545  และแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเรื่องสถานที่ตั้งสำนักงานสมาคม ตั้งอยู่ห้อง 2305  ชั้น 3  อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เลขที่ 50  ถนนพหลโยธิน  แขวงลาดยาว  เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร  และได้รับจดทะเบียนวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2550  จนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ที่ได้ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน  มีดังต่อไปนี้ :-

  1. เพื่อรวมกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีความรู้ ความสามารถ และผู้สนใจในด้านการผังเมือง
  2. เพื่อส่งเสริมและรักษาสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกันของผู้ประกอบวิชาชีพผังเมืองในสาขาวิชาต่าง ๆ
  3. เพื่อยกระดับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพผังเมือง และส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพผังเมือง มีจริยธรรม และจรรยาบรรณ
  4. เพื่อส่งเสริมการพัฒนา รักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อมของชุมชนและเมือง
  5. เพื่อมีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
  6. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและให้ความรู้เกี่ยวกับการผังเมืองแก่ประชาชน
  7. เพื่อส่งเสริมและประสานกิจกรรมทางด้านผังเมืองกับหน่วยงานต่าง ๆ ในภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
  8. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยในวิชาการผังเมือง

นายกสมาคมนักผังเมืองไทย

เพื่อเป็นการบันทึกลำดับนายกสมาคมนักผังเมืองไทยตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีจำนวน 8 ท่าน สามารถจัดลำดับได้ดังนี้ :-

  1. นายกสมาคมช่วงก่อตั้งระยะแรก เมื่อจดทะเบียนวันที่  6  มกราคม  พ.ศ.2536

    ดร.อภิชาติ   วงศ์แก้ว ดำรงตำแหน่งระหว่าง  พ.ศ.2536  –  2538
    นายเทอดเกียรติ์   ศักดิ์คำดวง ดำรงตำแหน่งระหว่าง  พ.ศ.2539  –  2540

  2. หลังจากได้มีการโอนถ่ายการจดทะเบียน โดยได้จดทะเบียนประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2541 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ มีดังต่อไปนี้ :-

    นายเทอดเกียรติ์  ศักดิ์คำดวง
    ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่าง  พ.ศ.2541 – 2542
    นายศักดา  ทองอุทัยศรี
    ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่าง  พ.ศ.2543 –  2544
    นายอัจฉริยะ  โรจนะสุนทร
    ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่าง  พ.ศ.2545 –  2547
    นายมานิตย์  ศิริวรรณ
    ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่าง  พ.ศ.2547 –  2550
    รศ.ดร.เอกรินทร์   อนุกูลยุทธธน
    ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่าง  พ.ศ.2550 –  2556
    นายอาคม  เวพาสยนันท์
    ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่าง  พ.ศ.2556 –  2558

สมาชิกองค์กรอื่น ๆ และเครือข่าย

  1. จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทะเบียนเลขที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2549
  2. ลงมาความร่วมมือกับ KRDA (KOREA REGIONAL DEVELOPMENT ASSOCIATION) เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2550
  3. การสถาปนา Asian Association of Urban and Regional Studies (AAURS) ณ เมือง Daejeon ประเทศเกาหลีใต้ จากการประชุมกลุ่มความร่วมมือ จัดขึ้นในการประชุมวิชาการครั้งแรก วันที่ 10-14 ธันวาคม 2550 โดยการ
    รวมตัวของ 5 สมาคม ด้านการผังเมือง ได้แก่ สมาคมนักพัฒนาผังภาคประเทศเกาหลี สมาคมนักผังเมืองสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนจีน สมาคมนักผังเมืองเวียดนาม สมาคมนักผังเมืองและภูมิศาสตร์ฟิลิปปินส์ และ
    สมาคมนักผังเมืองไทย ได้จัด SYMPOSIUM 3 ครั้ง ที่ประเทศเกาหลี ปี พ.ศ. 2550 สาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ. 2552 และประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554
  4. จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทะเบียนเลขที่ 2/2549 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2549
  5. ลงนามความร่วมมือลดปัญหาสภาวะโลกร้อน  เมื่อวันที่ 6   พฤษภาคม  พ.ศ.2550  ในปฏิญญากรุงเทพมหานครว่าด้วยความร่วมมือลดปัญหาภาวะโลกร้อน
  6. สมาชิกตลอดชีพของสมาคมสันนิบาตแห่งประเทศไทย  เลขที่สมาชิก 85  เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2552
  7. เข้าเป็นเครือข่ายการาจัด  SYMPOSIUM  URPAS 2013  (URBAN  AND  REGIONAL  PLANNING  ACADEMIC  SYMPOSIUM)  ประกอบด้วย
    1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    2. ภาควิชาการวางแผนและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    3. สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    4. สาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    5. สาขาวิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  8. ทำความตกลงร่วมมือทางวิชาการและการประชาสัมพันธ์ ระหว่าง สมาคมนักผังเมืองไทย และสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย

ประวัติการดำเนินงานของสมาคมฯ

การลำดับประวัติการทำงานสำหรับนายกสมาคมฯ แต่ละสมัยสามารถเรียบเรียงได้พอสังเขปจากการประมวล เหตุการณ์และเอกสารที่สามารถรวบรวมได้ดังนี้ :-

  1. ในช่วงก่อตั้งสมาคมฯ ซึ่งจะนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 – 2544 เป็นช่วงระยะเวลาที่เป็นการประชาสัมพันธ์สมาคมฯ และการหาสมาชิก เพื่อร่วมกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ นายกสมาคมฯ และกรรมการบริหารฯ ได้เข้าร่วมกับหน่วยงานของรัฐในคณะกรรมการต่าง ๆ อาทิเช่น ผู้ก่อตั้ง ดร.อภิชาติ วงศ์แก้ว เป็นคณะกรรมการผังเมือง ชุดที่ 10 ปี พ.ศ.2537 – 2539 นายเทอดเกียรติ์ ศักดิ์คำดวง เป็นคณะกรรมการผังเมือง ชุดที่ 11, 12, 13 ระหว่างปี พ.ศ.2539 – 2545 ทั้ง 2 ท่าน ขณะดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักผังเมืองไทย และเป็นกรรมการสมาคมฯ เป็นตัวแทนในคณะกรรมการดังกล่าว
  2. ในระหว่างช่วง พ.ศ.2545 – 2547 ซึ่งเป็นช่วงของ นายกอัจฉริยะ โรจนะสุนทร ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ผลการดำเนินงานสามารถรวบรวมได้จากการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2546 ได้แถลงผลงานดังนี้ :-
    1. งานด้านกิจกรรม – การประชาสัมพันธ์ที่ดำเนินการแล้ว
      • การประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการบริหารสมาคมนักผังเมืองไทย
      • การร่วมประชุมและร่วมสัมมนากับสถาบัน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ
      • จัดทำร่างคู่มือปฏิบัติวิชาชีพการวางแผนและผังเมือง
      • จัดทำจดหมายข่าวสมาคมฯ ออกเผยแพร่ทุก 2 เดือน
      • จัดนิทรรศการวันผังเมืองโลก วันที่ 8-9 พ.ย. 2545 ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง และ กทม.
      • ร่วมจัดนิทรรศการในงานสถาปนิก ‘46 วันที่ 23-27 เม.ย.2546
      • ร่วมจัดนิทรรศการในงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งจัดโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย วันที่ 1-4 พ.ค.2546
      • ร่วมเป็นผู้นำการสัมมนาในงานประชุมสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ วันที่ 30-31 พ.ศ.2546 เรื่องคู่มือปฏิบัติวิชาชีพการวางแผนและผังเมือง
      • ปรับเปลี่ยนรูปโฉมและเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซด์สมาคมนักผังเมืองไทย
    2. งานด้านกิจกรรม – การประชาสัมพันธ์
      • เตรียมการจัดงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการ ผังเมือง ‘46 ในเดือนพฤศจิกายน 2546
      • รวบรวมบทความเชิงวิชาการ เนื้อหาด้านการจัดการเกี่ยวกับเมือง เพื่อทำเป็นจุลสารแก่สมาชิก
    3. การร่วมประชุมและสัมมนากับสถาบัน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ระหว่างเดือน ก.ย.2545 – มิ.ย. 2546
      • ร่วมประชุมคณะทำงานร่างระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ สาขาสถาปัตยกรรมหลัก สภาสถาปนิก (ม.ค.45 – เม.ย.46)
      • ร่วมประชุมคณะทำงานยกร่างกฎกระทรวงและข้อบังคับสภาสถาปนิก (ธ.ค.45 – มี.ค.46)
      • ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการยกร่างกฎกระทรวงและข้อบังคับสภาสถาปนิก (ก.พ.46 – มิ.ย.46)
      • ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดอบรม สภาสถาปนิก (พ.ย.45 – พ.ค.46)
      • ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเปิดเสรีการค้าด้านบริการสถาปัตยกรรม (WTO) (ก.ค.45 – ก.พ.46)
      • ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเทคนิคการวิเคราะห์ (SWOT) คณะอนุกรรมการเปิดเสรีการค้าด้านบริการสถาปัตยกรรม (ต.ค.45)
      • ร่วมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาและวางผังออกแบบชุมชนพื้นที่พัฒนาพิเศษเขต
        เศรษฐกิจใหม่พระราม 3 (ธ.ค.45)
      • ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรม ณ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ม.ค. – มิ.ย.46)
      • ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลโครงการวิจัยสำรวจขีดความสามารถวิศวกรที่ปรึกษาไทย ซึ่งจัดโดยสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย (มี.ค.46)
      • ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาทบทวนขีดความสามารถวิศวกรที่ปรึกษาไทย (พ.ค.46)
      • ร่วมประชุมพิจารณาทบทวนขีดความสามารถวิศวกรที่ปรึกษาไทย ณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (มิ.ย.46)
      • ร่วมประชุมจัดตั้ง คณะกรรมการนโยบายการก่อสร้างแห่งชาติ โดยคณะกรรมการร่วม 15 สมาคม (พ.ค. – มิ.ย.46)
      • ร่วมสัมมนาเรื่องความรู้ดานการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง
        (พ.ค.46)
      • ร่วมเป็นวิทยากรในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการวางและจัดทำผังเมือง
        รวมกรุงเทพมหานคร (พ.ค.46)
  3. กิจกรรมของสมาคมฯ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549 มีดังนี้ :-
    1. ร่วมกิจกรรม ให้ข้อคิดเห็นในการผังเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ที่ดิน สิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อการพัฒนาที่ยังยืน ในการประชุม การสัมมนาวิชาการ การปรับปรุงผังเมืองรวม การอนุรักษ์ศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองที่น่าอยู่
    2. ส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน เด็ก เยาวชน นักศึกษา ในด้านสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเมืองน่าอยู่
    3. จัดทำจดหมายข่าว “ชุมชนไทย” เผยแพร่ข่าว ความรู้ดานการวางแผน วางผังเมือง การพัฒนาการใช้ที่ดิน สิ่งแวดล้อม และเมืองน่าอยู่ แก่สมาชิก หน่วยงานพัฒนาชุมชนและผู้สนใจ
    4. ร่วมประชุมให้ความเห็นในงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรม ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
    5. ประสานงานจัดรายการให้ความรู้ด้านนโยบายสาธารณะด้านผังเมืองในวันผังเมืองโลก ทางสื่อสาธารณะ และรายการโทรทัศน์
    6. เป็นองค์กรเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย จัดการสัมมนาในวันสิ่งแวดล้อมโลก และวันสิ่งแวดล้อมไทย โดยมีสาระโดยสังเขป ดังนี้ :-
      • เป็นกรรมการเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมจัด “เวทีสิ่งแวดล้อม 47” ศึกษา นำเสนอเรื่อง “เมืองใหม่นครนายก : กระบวนการสู่ทางเลือกใหม่” ในการสัมมนา พ.ศ.2547
      • เป็นวิทยากร และรับผิดชอบประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย ในหัวข้อ “วิถีไทย : วิถีทางสู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม ‘ 2548”
      • ผู้แทนสมาคมฯ ได้รับมอบหมายให้เป็นรองประธานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย 2549
      • ร่วมกับเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย เป็นองค์กรร่วมจัดเวทีเสวนาสาธารณะในวันสิ่งแวดล้อมโลก (5 มิถุนายน 2549) เรื่อง “ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม : ฝ่าวิกฤติ ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง” ในวาระมงคลของประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เพื่อเป็นเวทีสร้างสรรค์การมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลาย ในมิติต่าง ๆ
    7. ร่วมกิจกรรมวิชาการนโยบายสาธารณะกับการมีส่วนร่วม และเวทีสาธารณะการปฏิรูปการเมืองของสภาที่ปรึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
    8. ร่วมให้ความเห็นด้านการพัฒนาพื้นที่ การใช้ที่ดิน สิ่งแวดล้อมชุมชนในโครงการพัฒนาพื้นที่เมืองศูนย์การกลางบินสุวรรณภูมิ
    9. ร่วมระดมความคิดเห็นในการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมือง
    10. เป็นวิทยากรร่วมให้ความเห็นทางวิชาการด้านผังเมือง เรื่อง โครงการถนนตัดอ่าว ในการสัมมนาเครือข่ายสิ่งแวดล้อม
    11. จัดทำเอกสารเผยแพร่เรื่อง “ให้โอกาสเมือง พัฒนาเมืองน่าอยู่ : การพัฒนาชนบทและเมือง รวมทั้งการสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็งและการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่”
    12. จัดทำเอกสารเผยแพร่ “AGENDA 21 การพัฒนาที่ยั่งยืน ชุมชนยั่งยืน”
    13. จัดทำเอกสารแผ่นพับแนะนำสมาคม และเอกสารเผยแพร่ความรู้ด้านผังเมืองแจกในงานนิทรรศการสถาปนิกและงานสิ่งแวดล้อมโลก และเผยแพร่ไปยังสถาบันการศึกษาด้านผังเมือง
    14. ร่วมกิจกรรมวิชาการด้านผังเมือง สิ่งแวดล้อมชุมชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมมือกับหน่วยงานชุมชน องค์กรท้องถิ่นและสถาบันการศึกษา
    15. จัดเตรียม รวบรวมและนิยามศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับการผังเมือง เพื่อเผยแพร่
    16. จัดตั้งคณะทำงานวิชาการเพื่อการศึกษา และเตรียมร่างคู่มือการปฏิบัติงานด้านการวางแผนและด้านผังเมือง เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรในการทำงานด้านการผังเมืองและสิ่งแวดล้อมชุมชน
    17. จัดทำ Website สมาคมนักผังเมืองไทย (tcps2535.org.th) สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านผังเมือง การพัฒนาพื้นที่ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
    18. ร่วมมือกับองค์กรเอกชนในกิจกรรมการฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยจากสึมานิ
    19. จัดทัศนศึกษาชุมชน
    20. การให้ความร่วมมือด้านวิชาการกับองค์กรพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ
    21. การส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน นักศึกษาในด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองน่าอยู่
    22. การร่วมประชุมให้ความเห็นในงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรม ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายอนุรักษ์
    23. เป็นองค์กรเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย จัดสัมมนาในวันสิ่งแวดล้อมโลก และวันสิ่งแวดล้อม
    24. ร่วมกิจกรรมวิชาการ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน และการผลิตที่ยั่งยืนของประเทศไทย
    25. จัดทำเอกสารเผยแพร่ “สรุปสาระสำคัญ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง แจกในงานสิ่งแวดล้อม”
    26. ส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน เด็ก เยาวชน การประกวดวาดภาพ เมืองที่น่าอยู่
    27. การจัดตั้งคณะทำงานวิชาการ เพื่อศึกษา – เตรียมร่างคู่มือการปฏิบัติงานด้านการวางแผนและผังเมือง เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรในการทำงานด้านการผังเมืองและสิ่งแวดล้อมชุมชน
    28. การจัดกิจกรรมวันผังเมืองโลก 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 เรื่อง “สุวรรณภูมิ : การอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน สู่สังคมแห่งความสุข ? ”
    29. ร่วมเป็นคณะทำงานยกร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายองค์กรอิสระด้านสิ่วแวดล้อม ตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย มาตรา 67 พ.ศ.2550
    30. การร่วมงานกับองค์กรเครือข่ายชุมชนบางสะพาน เพื่อร่วมคิดและงานอาสาศึกษาด้านนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองเพื่อธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม บางสะพาน
    31. ร่วมเป็นคณะทำงานศึกษา ร่วมคิด ธรรมาภิบาลผังเมือง กรณีชุมชนมาบตาพุด ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและองค์กรเครือข่าย